• April 3, 2024

รวมทุกเรื่อง “คลื่นความร้อน” ภัยจากวิกฤติภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้น

เราคงได้เห็นข่าวกันมาบ้างแล้วว่า หลายประเทศทั่วโลกได้เผชิญสถานการณ์คลื่นความร้อน อย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นบังคลาเทศที่ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนยาวนานที่สุดในรอบ 50 ปี และอินเดียที่ได้รับผลกระทบจนมีผู้เสียชีวิตเกือบร้อยรายในปีนี้

ปัญหาเรื่อง “คลื่นความร้อน” นี้ ดูเหมือนจะเคลื่อนเข้ามาใกล้ตัว และกำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยในหลายประเทศพุ่งสูงทำสถิติใหม่อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าซีกโลกเหนือจะยังไม่เข้าสู่ฤดูร้อนด้วยซ้ำ

วิกฤตคลื่นความร้อนระอุ…หนุนเครื่องปรับอากาศไทย ส่งออกสหรัฐฯ พุ่ง

อินเดียเผชิญคลื่นความร้อน ร้อนทะลุ 40 องศา สั่งปิดรร.

เช่นทางตอนใต้ของสหรัฐฯ อย่างรัฐเท็กซัส ลุยเซียนา และฟลอริดา ต้องเผชิญกับความร้อนสูงถึง 40 องศาเซลเซียส ทุบสถิติของประเทศที่เคยมีมา

ขณะที่ฝั่งเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อนมาอย่างต่อเนื่องยาวสร้าง สร้างสถิติความร้อนใหม่ที่ 44 องศาเซลเซียสในเวียดนาม และ 45 องศาเซลเซียสในประเทศไทย

ส่วนที่สิงคโปร์ก็เผชิญความร้อนทะลุปรอทเช่นกันที่ 37 องศาเซลเซียส ขณะประเทศจีน กรุงปักกิ่ง ก็ทุบสถิติอุณหภูมิสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการบันทึกข้อมูลที่ 41 องศาเซลเซียส

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศย่อมทำให้อุณหภูมิลักษณะนี้มีแนวโน้มเกิดขึ้นบ่อยครั้ง แต่คลื่นความร้อนระดับเดียวกัน อาจสร้างผลกระทบไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยความชื้น หรือความพร้อมในการรับมือความร้อนแบบสุดขั้วของแต่ละพื้นที่

ดังนั้นแล้วตัวเลขเหล่านี้ต่างจากความร้อนแล้งอย่างไร อะไรที่เลวร้ายกว่ากันเมื่อเทียบกับพื้นที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่าแต่ความชื้นสูงกว่า

คลื่นความร้อน คืออะไร

“คลื่นความร้อน” หรือ “ฮีทเวฟ” (Heat wave) เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ที่อากาศร้อนมากกว่าปกติอย่างรวดเร็วในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดยาวนานเป็นเวลาไม่กี่วันหรือนานหลายสัปดาห์

โดย องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meterorological Organization : WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนว่า เป็นภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวัน เกินค่าอุณหภูมิเฉลี่ยของภพื้นที่นั้นในช่วงเวลาเดียวกันของปี ประมาณ 5 องศาเซลเซียสติดต่อกันเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน

คลื่นความร้อน สามารถเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ

1. ) การเกิดคลื่นความร้อนแบบสะสมความร้อน

เกิดในพื้นที่ที่ได้สะสมความร้อนเป็นเวลานาน มีความแห้งแล้ง ไม่มีเมฆและลมสงบนิ่งหลายวัน ทำให้มวลอากาศร้อนไม่เคลื่อนที่ อุณหภูมิอากาศของพื้นที่นั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมวลอากาศร้อนจะมีสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อนมักเกิดในแอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อินเดีย และปากีสถาน

2.) การเกิดคลื่นความร้อนแบบพัดพาความร้อน

เกิดจากลมแรงหอบมวลความร้อนจากทะเลทรายหรือเส้นศูนย์สูตร เข้ามาในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นกว่าหรือเขตหนาว ทำให้อุณหภูมิในพื้นที่นั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะสูงจนกระทั่งลมร้อนนั้นพัดผ่านไปหรือสลายตัวไปเอง มักพบในพื้นที่เขตหนาว เช่น แถบยุโรป

ไทยยังไม่เคยเจอคลื่นความร้อน แต่ในอนาคตอาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน

ส่วนประเทศไทยที่มีสภาพภูมิอากาศร้อนอยู่ตลอดเวลาแบบนี้ แล้วเราเคยเจอฮีทเวฟหรือไม่ กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า ที่จริงแล้วประเทศไทยยังไม่เคยเจอ เพราะลักษณะภูมิประเทศไม่ได้ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีมวลอากาศร้อนจัด และไม่มีทะเลทราย ประกอบกับการมีพื้นที่อยู่ใกล้ทะเล ยังคงยังมีลมพัดหมุนเวียน จึงได้รับความชื้นเข้ามาปกคลุมพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้รับอิทธิพลจากลมต่างๆ ที่พัดปกคลุมพื้นที่ตลอดปีอีก รวมถึงยังได้รับมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุมอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดฝนตกด้วย ดังนั้นโอกาสที่จะมีความร้อนสะสมในพื้นที่จนเกิดเป็นคลื่นความร้อนจึงเป็นไปได้น้อย

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญด้านโลกร้อนของไทยบางท่านให้ความเห็นว่าประเทศไทยอาจมีคลื่นความร้อนเกิดขึ้นได้ในอนาคตเช่นกัน เนื่องจากในปัจจุบันปรากฏการณ์เอลนีโญยังทวีความรุนแรง จึงทำให้ประเทศไทยมีสภาพอากาศที่แห้งแล้ง และอุณหภูมิอากาศเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในฤดูร้อน

ดัชนีความร้อน” วิธีวัดความรุนแรงของฮีทเวฟ

การตรวจสอบคลื่นความร้อน เราสามารถดูได้จากการพยากรณ์แผนที่อากาศหรือข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาที่พูดถึง ดัชนีความร้อน” ซึ่งเป็นความร้อนที่สะท้อนว่าร่างกายของคนเรารู้สึกว่าอากาศร้อนแค่ไหน จึงเป็นค่าที่ได้มาจากการนำอุณหภูมิของร่างกายมาคิดรวมกับความชื้นสัมพัทธ์ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าหากความชื้นสัมพัทธ์สูง เหงื่อจะระเหยยาก ทำให้เรารู้สึกว่าร้อนกว่าอุณหภูมิจริงของอากาศนั่นเอง

โดยถ้าหากเราเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงถึง 27 องศาเซลเซียส ในความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับ 40% เป็นต้นไป ตามภาพด้านล่างนี้ เราควรระมัดระวังสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่กลางแจ้ง

คลื่นความร้อนอันตรายถึงชีวิต

โดยปกติแล้วเวลาร่างกายของเราได้รับความร้อน ร่างกายของเราจะพยายามระบายความร้อน บางส่วนจะระบายออกทางอากาศรอบตัว หรือการระบายออกทางการหายใจ แต่ความร้อนส่วนใหญ่จะออกโดยการขับเหงื่อ ซึ่งการระเหยของเหงื่อจะต้องใช้พลังงานจากผิวหนังของเราและอากาศรอบตัวในรูปของพลังงานความร้อนแฝง ส่งผลให้เวลาเราอยู่กลางแจ้งที่มีความชื้นในอากาศสูง จึงทำให้อัตราการระเหยของเหงื่อจากผิวหนังเราลดลง

ดังนั้นในสถานที่ยิ่งร้อน ยิ่งมีความชื้นสูง จึงส่งผลร้ายแรงถึงชีวิตได้ โดยจะมีอันตรายมากกับกลุ่มเสี่ยง มีรายละเอียดดังนี้

  • กลุ่มเสี่ยง
    • เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
    • ผู้ที่ทำงานหรือทำกิจกรรมกลางแดด เช่น ออกกำลังกาย ผู้ใช้แรงงาน ก่อสร้าง เกษตรกร
    • ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
    • ผู้มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน
    • ผู้สูงอายุ
    • ผู้มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิต
  • อาการ
    • รู้สึกหงุดหงิด ตัดสินใจผิดพลาด
    • วิงเวียนศีรษะ
    • หายใจลำบาก
    • เหนื่อยล้า
    • ผิวแห้ง ผื่นแดด
    • ตะคริวจากความร้อน
    • ความดันโลหิตต่ำ
    • โรคลมแดด
  • ผบกระทบต่อร่างกาย
    • ผิวหนังยิ่งถูกแผดเผามากเท่าไร ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็วผิวหนัง
    • อากาศร้อน มีความเชื่อมโยงกับการทำงานของสมองที่ลดลง เกิดความผิดพลาดในการตัดสินใจ รู้สึกหงุดหงิด และอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านอารมณ์มากกว่าวันที่อากาศดี
    • หากร่างกายร้อนเกินไป การไหลเวียนของเลือดไปยังผิวหนังและการขับเหงื่อจะหยุดลง ในกรณีนี้อุณหภูมิของร่างกายจะพุ่งสูงขึ้นและเซลล์สมองจะได้รับความเสียหายแบบไม่สามารถย้อนกลับได้
    • อากาศร้อนส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศ ทำให้หายใจลำบากรวมถึงสภาพอากาศที่สูงมักมาพร้อมกับอากาศที่นิ่ง ยิ่งทำให้เราสูดมลพิษที่ลอยนิ่งอยู่ในอากาศไปด้วย
    • เมื่อร่างกายร้อนขึ้น หลอดเลือดจะขยายตัว และทำให้ความดันโลหิตต่ำลง ทำให้อาจรู้สึกวิงเวียนและไม่สบาย เลวร้ายที่สุดคือ เมื่อร่างกายขาดการไหลเวียนของเลือดตามปกติ ลำไส้อาจรั่ว หลอดเลือดอาจเสียหาย ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายเพิ่มขึ้นด้วย
    • หากร่างกายร้อนมากเกินไป สมองจะสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงานช้าลง ส่งผลให้เรารู้สึกเหนื่อล้า รวมถึงยังมีอาการวิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัด กระหายน้ำมาก คลื่นไส้ ใจสั่น และอาการชาด้วย อย่างไรก็ตามอาการอ่อนเพลียนี้อาจรุนแรงขึ้นเป็นโรคลมแดดได้ ซึ่งจะเกิดขึ้นหากอุณหภูมิร่างกายร้อนถึง 40 องศาเซลเซียส ถือเป็นกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์ อาการต่าง ๆ ได้แก่ ผิวแห้ง ร้อน และจิตผิดปกติ หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอาการชัก โคม่า และเสียชีวิตได้
  • คำแนะนำ
    • สวมหมวกที่มีขอบบังแดด ใช้ร่ม หรือแว่นกันแดด
    • ดื่มน้ำมากๆ อย่าปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ จนรู้สึกกระหายน้ำ ริมฝีปากแห้ง
    • หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดจัด
    • ไม่ดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมน้ำตาลจำนวนมาก
    • ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดด

คลื่นความร้อนทวีความรุนแรง เชื่อมโยงกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้น

การศึกษาพบว่าคลื่นความร้อนในประเทศญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และออสเตรเลียมีแนวโน้มจะเกิดรุนแรงยิ่งขึ้น และกินระยะเวลายาวนานมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่มาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มากขึ้น ดังนั้นถ้าหากนานาประเทศยังไม่จับมือกันลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจก เราอาจต้องเผชิญกับผลกระทบของคลื่นความร้อนที่เพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าตัว

โดย เทียนยี ซุน นักวิทยาศาสตร์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจาก Environmental Defense Fund ระบุว่า เราอาจต้องเจอกับคลื่นความร้อนในแต่ละฤดูประมาณ 34 วัน จากการเพิ่มขึ้นหนึ่งองศาเซลเซียส โดยระยะเวลาจะเพิ่มราว 2 ถึง 10 วันทุกๆ การเพิ่มขึ้นหนึ่งองศาเซลเซียสคำพูดจาก สล็อตออนไลน์

นอกจากนี้ ความร้อนยังเป็น 1 ใน 3 สาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ซึ่งสามารถคร่าชีวิตผู้คนได้เกือบแสนคนต่อปี โดยงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Climate Change เปิดเผยเหตุการณ์คลื่นความร้อนในยุโรปเมื่อ 20 ปีก่อนว่า เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชากรกว่า 70,000 คนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตามแม้ระเทศไทยจะยังไม่เคยมีรายงานว่าเกิดคลื่นความร้อนขึ้น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะรอดพ้นจากปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ได้เช่นกัน ถ้าตราบใดที่พวกเรายังไม่รักษ์โลก และยังไม่จริงจังกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ขอบคุณข้อมูลจาก : RISC,มูลนิธิสืบนาคะเสถียร, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ กรมควบคุมโรค